วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556



Snooker





สนุกเกอร์ (อังกฤษSnooker) เป็นกีฬาที่ใช้ไม้คิวในการเล่น โดยเล่นบนโต๊ะผ้าสักหลาดหนาที่มีหลุมอยู่ 4 มุมโต๊ะ และตรงกลางของด้านยาวอีกด้านละหลุม โต๊ะมีขนาด 12 ฟุต × 6 ฟุต (3.6 ม. x 1.8 ม.) การเล่นใช้ไม้คิวและลูกสนุกเกอร์ มีลูกสีขาว 1 ลูก ลูกสีแดง 15 ลูก มีคะแนนลูกละ 1 คะแนน และมีลูกสีต่าง ๆ คือ สีเหลือง (2 คะแนน), สีเขียว (3), สีน้ำตาล (4), สีน้ำเงิน (5), สีชมพู (6) และสีดำ (7) ผู้เล่น (หรือทีม) ชนะ 1 เฟรม (แต่ละเกม) โดยแต้มที่เหนือกว่าฝั่งตรงข้าม โดยใช้แทงลูกสีแดงและแทงลูกสี ผู้ที่ชนะจำนวนเฟรมมากกว่าจะเป็นผู้ชนะ
สนุกเกอร์ได้รับความนิยมในหมู่ผู้เล่นที่ใช้ภาษาอังกฤษและประเทศในเครือจักรภพแห่งชาติและในจีนโดยผู้เล่นมืออาชีพมักจะได้รับเงินรางวัลจำนวนมากจากการแข่งขัน

ผู้เล่นและเจ้าหน้าที่


1. การถ่วงเวลา ถ้าผู้ตัดสินพิจารณาเห็นว่าผู้เล่นใช้เวลาเกินสมควรในการแทง จะเตือนผู้เล่นว่า เขาอาจถูกปรับเฟรมให้กับคู่แข่งขัน 2. การประพฤติที่ไม่เหมาะสม การที่ผู้เล่นปฏิเสธที่จะเล่นต่อก็ดี หรือมีกริยาที่ไม่เหมาะสม ผู้ตัดสินเห็นว่าเป็นการทำโดยจงใจหรือบ่อยครั้ง รวมถึงยังคงถ่วงเวลาอยู่อีกหลังจากได้รับ
การเตือนในกติกาข้อ 1 ข้างบนแล้วมีความประพฤติไม่เป็นสุภาพบุรุษ ผู้เล่นอาจจะถูกปรับแพ้ในเฟรมนี้ ผู้ตัดสินจะเตือนว่าถ้ายังประพฤติเช่นนั้นอีกก็จะปรับ
ให้แพ้ในเกมนี้ 3. การลงโทษ A หากมีการตัดสินให้แพ้ในเฟรมใดภายใต้กติกาหมวดนี้ ผู้กระทำผิดจะต้อง 1. แพ้ในเฟรมนั้น 2. ถูกปรับแต้มทั้งหมดที่ทำได้ และผู้ที่ไม่ได้กระทำผิดจะได้แต้มจากลูกที่เหลืออยู่บนโต๊ะ ลูกแดงทุกลูกมีค่าเท่ากับ 8 แต้ม ลูกสีที่อยู่นอกโต๊ะจะถูกนับแต้ม
เสมือนกับว่าได้อยู่บนโต๊ะ B หากมีการตัดสินให้แพ้ในเกมใดภายใต้กติกาหมวดนี้ ผู้กระทำผิดจะต้อง 1. แพ้ในเฟรมที่กำลังเล่นนั้น เช่นเดียวกับข้อ 3 (A) และ 2. แพ้ในเฟรมที่เหลือที่ยังไม่ได้เล่นให้ครบตามจำนวนเฟรมที่กำหนดในเกมนั้น 4. ผู้ที่ไม่อยู่ในเที่ยวแทง เมื่อผู้แทงอยู่ จะต้องหลีกเลี่ยงในการยืนหรือเคลื่อนไหวในแนวสายตาของผู้แทง จะนั่งหรือยืนต้องอยู่ในระยะห่างจากโต๊ะตามสมควร 5. การออกไปจากห้องแข่งขัน เมื่อไม่อยู่ในห้องแข่งขัน ผู้เล่นอาจจะตั้งผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้แทนสำหรับการดูแลผลประโยชน์เรียกร้องการฟาวล์ แต่ต้องแจ้งให้กรรมการผู้ตัดสินทราบก่อนจะ
ออกจากห้อง

คำจำกัดความ

คำจำกัดความ
1. เฟรม เฟรมหนึ่งๆ ของสนุ้กเกอร์ประกอบด้วยการเล่นจากไม้แรก ด้วยลูก 1 ชุด ที่ได้กล่าวไว้ในหมวด 3 ข้อ 2 จนกระทั่งจบเฟรมโดย A ผู้เล่นฝ่ายหนึ่งยอมแพ้ขณะอยู่ในเที่ยวแทง B เมื่อเหลือเพียงลูกดำลูกเดียวและมีแต้มต่างกันมากกว่า 7 แต้ม C ลูกดำลูกสุดท้ายลงหลุมหรือมีการฟาวล์ D ถูกตัดสินโดยผู้ตัดสินภายใต้ หมวด 3 ข้อ 14 (C2) หรือ หมวด 4 ข้อ 2 2. เกม "เกม" คือจำนวนเฟรมที่ตกลงกันหรือกำหนดให้ว่าจะต้องเล่น 3. แมทช์ "แมทช์" คือจำนวนเกมที่ตกลงกันหรือกำหนดให้ว่าจะต้องเล่น 4. ลูกต่างๆ A "ลูกขาว" เรียกว่า "ลูกแทง" B ลูกแดง 15 ลูกและลูกสี 6 ลูก เรียกว่า "ลูกเป้า" 5. ผู้แทง ผู้ที่กำลังจะเข้าเล่นหรือกำลังเล่นอยู่จะเป็น "ผู้แทง" และจะเป็นผู้แทงอยู่จนกระทั่งผู้ตัดสินเห็นว่าเขาได้ออกจากโต๊ะไปเมื่อเที่ยวแทงแล้ว

มารยาทในการชมกีฬาบิลเลียด - สนุกเกอร์



มารยาทในการชมกีฬาบิลเลียด - สนุกเกอร์

ก่อนเข้าห้องแข่งขัน

-แต่งกายสุภาพ ไม่สวมกางเกงขาสั้น-รองเท้าแตะ
-เดินทางถึงห้องแข่งขันก่อนการแข่งขันจะดำเนินขึ้น และเข้าประจำที่นั่งให้เรียบร้อย
-ปิดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด ให้อยู่ในระบบสั่น รวมทั้งปิดสัญญาณ SMS 
 บนโทรศัพท์มือถือ
-ไม่นำอาหาร-เครื่องดื่มเข้ามารับประทานและงดสูบบุหรี่ในห้องแข่งขัน
-ไม่นำกล้องถ่ายภาพนิ่ง หรือกล้องวิดิทัศน์เข้ามาบันทึกภาพในห้องแข่งขัน
-หากท่านนำเด็กเล็กเข้ามานั่งชมการแข่งขัน กรุณาควบคุมเด็กให้อยู่ในความสงบใน ขณะการแข่งขันกำลังดำเนินอยู่

กติกาการเล่นและอุปกรณ์



กติกาการเล่นและอุปกรณ์

วิธีการเล่น ผู้เล่นจะใช้ไม้คิวแทงลูกสีขาวเท่านั้น ให้กลิ้งไปกระทบลูกสีให้ลงหลุมจึงจะได้คะแนน และได้เล่นต่อไปจนกว่าผู้เล่นจะไม่สามารถทำให้ลูกสีลงหลุมได้ จึงจะเปลี่ยนให้ผู้เล่นอีกคนได้เล่นบ้าง โดยมีข้อบังคับในลำดับการเล่นลูกสีต่างๆ ดังนี้ เริ่มเล่นจากลูกสีแดงก่อน หากทำลูกสีแดงลงหลุม จึงจะมีสิทธิ์เล่นลูกสีอื่นๆ สีใดก็ได้ตามแต่ผู้เล่นจะเลือก หากเล่นลูกสีอื่นลงหลุมอีก ก็กลับมาเล่นลูกสีแดงอีกครั้ง หากสำเร็จอีก ก็เล่นลูกสีอื่นอีกครั้ง (เมื่อลูกสีลงหลุม กรรมการจะนำกลับมาตั้งใหม่ที่จุดของลูกนั้น ยกเว้นลูกสีแดงที่จะไม่นำกลับมาตั้งใหม่) เป็นอย่างนี้สลับกันไปเรื่อยๆ จนลูกสีแดงลงหลุมหมดทั้ง 15 ลูก จึงเล่นลูกสีอื่นตามลำดับดังนี้ เหลือง เขียว น้ำตาล น้ำเงิน ชมพู และ ดำ เป็นลูกสุดท้าย (ในช่วงนี้ลูกสีจะไม่นำกลับมาตั้งใหม่ที่จุดอีกแล้ว) เมื่อลูกสีลงหลุมหมดทุกลูก ก็จะนับคะแนนรวมของแต่ละฝ่าย ฝ่ายที่ได้คะแนนมากกว่าจะเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้นคะแนนในแต่ละลูก ลูกสีแต่ละลูกจะมีคะแนนเมื่อทำลงหลุมได้ ดังนี้·    
    สีแดง    = 1 คะแนน·      
    สีเหลือง = 2 คะแนน·     
    สีเขียว   = 3 คะแนน·        
    สีน้ำตาล = 4 คะแนน·       
    สีน้ำเงิน = 5 คะแนน·        
    สีชมพู   = 6 คะแนน·         
    สีดำ      = 7 คะแนน
การเสียคะแนน ผู้เล่นอาจโดนปรับเสียแต้มได้ในบางกรณี เช่น-ทำให้ลูกขาวลงหลุม-แทงลูกขาวแล้วไม่กระทบลูกสีตามที่กติกากำหนด


ประวัติของกีฬาสนุกเกอร์


ประวัติของกีฬาสนุกเกอร์

BSAT History
กีฬาสนุกเกอร์ เป็นกีฬาที่เชื่อว่ามีการเริ่มเล่นกันมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 19 โดยมีต้นกำเนิดย้อนกลับไปถึงศตวรรษที่ 16 ในรูปแบบของ อิงลิช บิลเลียด (English Billiards) เป็นกีฬาที่นิยมเล่นกันในกองทัพอังกฤษที่ประจำอยู่ในประเทศอินเดีย แต่เนื่องจากกีฬาบิลเลียดเป็นกีฬาที่เล่นกันสำหรับสองคน จึงได้มีการคิดค้นกีฬาพูล (Life Pool และ Pyramid Pool) ขึ้นมาเพื่อจะได้เพิ่มจำนวนผู้เล่นมากขึ้น และนำมาประยุกต์กลายเป็นกีฬาสนุกเกอร์ไปในที่สุด
กีฬาสนุกเกอร์ เป็นกีฬาที่คนไทยนิยมเล่นกันมาช้านาน และจากการที่เป็นกีฬาที่ชี้ผลแพ้-ชนะได้ จึงมีการเล่นพนันขันต่อ และจากเหตุที่มีการพนันเข้ามาเกี่ยวข้อง กระทรวงมหาดไทยโดยกรมตำรวจจึงจัดเอาบิลเลียด-สนุกเกอร์ไว้ในพระราชบัญญัติการพนันประเภท ข. ตั้งแต่ปี 2478 และเป็นกฏหมายที่ใช้ควบคุมมาจนถึงปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2500 ได้มีการจัดการแข่งขันสนุกเกอร์ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรก ที่สมาคมพ่อค้าไทย มีวิเชียร แสงทอง หรือ เซียน กิ๊ด นครสวรรค์เป็นแชมป์ประเทศไทย จนถึงปี พ.ศ. 2513 จากนั้นสนุกเกอร์ก็เงียบหายไปจนถึงปี พ.ศ. 2525 โดยชาวอังกฤษที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลาช้านานจนถือว่าประเทศไทยเป็นบ้านที่สอง ชื่อ นายมอริส เคอร์ อดีตกรรมการบริหารราชกรีฑาสโมสร ได้รื้อฟื้นให้มีการจัดการแข่งขันชิงแชมป์ประเทศไทยขึ้นอีกครั้ง ภายในบริเวณราชตฤณมัยสมาคม (สนามม้านางเลิ้ง) การแข่งขันในปีแรก มีผู้ลงสมัครแข่งขันไม่ถึง 20 คน ปรากฏว่า มีเซียนรุ่นเก่าหันมาสวมเวสต์ เสื้อแขนยาวลงแข่งขันแบบ 15 ลูก ซึ่งกว่าจะผ่านไปได้ในปีแรกก็ยุ่งยากพอสมควร เนื่องจากนักกีฬาไม่คุ้นต่อกฏกติกานั่นเอง

และในปี พ.ศ. 2525 นั้นเอง สมาคมสนุกเกอร์แห่งประเทศไทยก็ได้ถูกก่อตั้งขึ้น โดยนายมอริส เคอร์ มีคณะกรรมการบริหารรุ่นบุกเบิกเพียง 7 คน ประกอบด้วย นายมอริส เคอร์ นายโอภาส เลิศพฤกษ์ นายสินธุ พูนศิริวงศ์ นายสุทธิชาติ จิราธิวัฒน์ นายศักดา รัตนสุบรรณ พล.ต.ต.ณรงค์ เหรียญทอง และนายเถกิง สวาสดิพันธุ์