วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

กติกาการเล่นและอุปกรณ์



กติกาการเล่นและอุปกรณ์

วิธีการเล่น ผู้เล่นจะใช้ไม้คิวแทงลูกสีขาวเท่านั้น ให้กลิ้งไปกระทบลูกสีให้ลงหลุมจึงจะได้คะแนน และได้เล่นต่อไปจนกว่าผู้เล่นจะไม่สามารถทำให้ลูกสีลงหลุมได้ จึงจะเปลี่ยนให้ผู้เล่นอีกคนได้เล่นบ้าง โดยมีข้อบังคับในลำดับการเล่นลูกสีต่างๆ ดังนี้ เริ่มเล่นจากลูกสีแดงก่อน หากทำลูกสีแดงลงหลุม จึงจะมีสิทธิ์เล่นลูกสีอื่นๆ สีใดก็ได้ตามแต่ผู้เล่นจะเลือก หากเล่นลูกสีอื่นลงหลุมอีก ก็กลับมาเล่นลูกสีแดงอีกครั้ง หากสำเร็จอีก ก็เล่นลูกสีอื่นอีกครั้ง (เมื่อลูกสีลงหลุม กรรมการจะนำกลับมาตั้งใหม่ที่จุดของลูกนั้น ยกเว้นลูกสีแดงที่จะไม่นำกลับมาตั้งใหม่) เป็นอย่างนี้สลับกันไปเรื่อยๆ จนลูกสีแดงลงหลุมหมดทั้ง 15 ลูก จึงเล่นลูกสีอื่นตามลำดับดังนี้ เหลือง เขียว น้ำตาล น้ำเงิน ชมพู และ ดำ เป็นลูกสุดท้าย (ในช่วงนี้ลูกสีจะไม่นำกลับมาตั้งใหม่ที่จุดอีกแล้ว) เมื่อลูกสีลงหลุมหมดทุกลูก ก็จะนับคะแนนรวมของแต่ละฝ่าย ฝ่ายที่ได้คะแนนมากกว่าจะเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้นคะแนนในแต่ละลูก ลูกสีแต่ละลูกจะมีคะแนนเมื่อทำลงหลุมได้ ดังนี้·    
    สีแดง    = 1 คะแนน·      
    สีเหลือง = 2 คะแนน·     
    สีเขียว   = 3 คะแนน·        
    สีน้ำตาล = 4 คะแนน·       
    สีน้ำเงิน = 5 คะแนน·        
    สีชมพู   = 6 คะแนน·         
    สีดำ      = 7 คะแนน
การเสียคะแนน ผู้เล่นอาจโดนปรับเสียแต้มได้ในบางกรณี เช่น-ทำให้ลูกขาวลงหลุม-แทงลูกขาวแล้วไม่กระทบลูกสีตามที่กติกากำหนด




  อุปกรณ์


    ชอล์ก (Chalk)
ใช้สำหรับหัวไม้คิวเพื่อให้กระทบลูกที่ดีขึ้น ระหว่างไม้คิวและลูก
ไม้คิว (Cue stick)
เป็นไม้ที่ทำจากไม้หรือไฟเบอร์กลาสที่ปลายของหัวไม้ ใช้ในการแทงลูกคิว
ส่วนต่อขยาย (Extension)
กระบองไม้สั้นที่ไว้สำหรับต่อไม้คิวเพื่อให้ไม้ยาวขึ้น ใช้สำหรับผู้เล่นที่ไม่สามารถแทงได้ในระยะทางยาว
ไม้เรสต์ (Rest)
ไม้ที่มีหัวเป็นรูป X ใช้ในการสนับสนุนไม้คิวเมื่อลูกคิวอยู่ในระยะเกินปกติ
ฮุกเรสต์ (Hook rest)
เหมือนไม้เรสต์ตามปกติเพียงแต่ปลายหัวไม้จะมีตะขอเป็นโลหะ อาจจะใช้แทนไม้เรสต์เป็นบางครั้ง เป็นสิ่งประดิษฐ์ล่าสุดในสนุกเกอร์
สไปเดอร์ (Spider)
ไม้ที่คล้ายกับเรสต์ แต่มีหัวเป็นรูปซุ้มประตู ถูกนำมาใช้เพื่อสนับสนุนไม้คิวในการแทงด้านบนลูกคิว
สามเหลี่ยม/แรก (Triangle/Rack)
อุปกรณ์ชิ้นนี้ใช้สำหรับการรวบรวมลูกคิวสีแดงเป็นรูปแบบที่จำเป็นสำหรับการตั้งลูกเพื่อที่จะเริ่มต้นเฟรม
ฮาล์ฟบัตต์ (Half butt)
เป็นไม้ยาวที่มักจะตั้งอยู่ด้านข้างของใต้โต๊ะสนุกเกอร์ มักจะใช้คู่กับไม้เรสต์ยาวในการแทงลูก อาจจะใช้แทนไม้คิวธรรมดาที่ผู้เล่นไม่สามารถแทงได้ในระยะไกลในบนโต๊ะ
เครื่องหมายลูก (Ball marker)
เป็นอุปกรณ์อเนกประสงค์ด้วยบากรูปตัว D ซึ่งผู้ตัดสินสามารถวางเครื่องหมายเพื่อไปทำความสะอาดลูก


โต๊ะมาตรฐาน (Standard Table)

ขนาด (Dimension)
พื้นที่สำหรับใช้ในการเล่น วัดจากขอบผิวของคุชชั่น จะต้องมีขนาด 11 ฟุต 8 1/2 นิ้ว X 5 ฟุต 10 นิ้ว (3,596 มม. X 1,778 มม.) โดยมีความคลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน ±1/2 นิ้ว (±13 มม.)
ความสูง (Height)
ความสูงของโต๊ะ วัดจากพื้นห้องถึงขอบผิวของคุชชั่น จะต้องอยู่ระหว่าง 2 ฟุต 9 1/2 นิ้ว - 2 ฟุต 10 1/2 นิ้ว (851 มม. - 876 มม.)
หลุม (Pockets)
1.     โต๊ะจะมีหลุมตามมุม 2 หลุม ทางด้าน จุดสปอต ซึ่งเรียกว่า หลุมบน และอีก 2 หลุมทางด้านในเมือง ซึ่งเรียกว่า หลุมล่าง และมีหลุมที่กึ่งกลางด้านยาวของโต๊ะอีกข้างละ 1 หลุม ซึ่งเรียกว่า หลุมกลาง
2.     ขนาดต่างๆ ของหลุม จะต้องเป็นไปตามแม่แบบ (Template) ซึ่งได้รับการรับรองจากสมาคมบิลเลียด และสนุกเกอร์อาชีพโลก (WPBSA)


ลูกต่าง ๆ (Balls)

1.     ลูกต่างๆ จะต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 52.5 มม. โดยมีความคลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน 0.05 มม. ลูกจะต้องมีน้ำหนักเท่ากัน คลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน 0.5 กรัมต่อ 1 ชุด
2.     ลูกใดลูกหนึ่ง หรือทั้งชุด อาจให้เปลี่ยนได้ โดยความเห็นชอบจากผู้เล่นร่วมกันหรือจากดุลยพินิจของผู้ตัดสิน


แหล่งที่มา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น